
โลหะปราสาทด้านทิศตะวันตก
โลหะปราสาทด้านทิศตะวันตก เป็นด้านที่มีระยะมากที่สุดให้ถ่ายได้โดยไม่ต้องเงยกล้องมาก ทำให้ได้รูปอาคารที่มีสัดส่วนสวยงาม | 5 ธันวาคม | 19mm
วัดราชนัดดารามวรวิหาร พระเจดีย์ โลหะปราสาท ๗ แผ่นดิน สู่ “เอกพุทธศิลป์สถาปัตย์รัตนโกสินทร์” หนึ่งเดียวในโลก
วัดราชนัดดารามวรวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้น ณ ริมคลองรอบกรุง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระราชนัดดาพระองค์เดียวที่ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางนาฏโสมนัสวัฒนาวดี บรมอัครราชเทวี พระอัครมเหสีพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระเจดีย์ โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร เป็นชื่อดั้งเดิมของอินเดีย เรียกมาแต่ครั้งสมัยพุทธกาล หมายถึง คฤหาสน์ที่มียอดเป็นโลหะ สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีหลายชั้นและใช้ประโยชน์เป็นส่วนสังฆาวาส

พระบรมราชานุสาวรีย์ในหลวงรัชกาลที่ ๓ และลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ด้านทิศเหนือของวัดราชนัดดารามวรวิหาร

พระราชลัญจกรในหลวงรัชกาลที่ ๓
พระบรมราชานุสาวรีย์ในหลวงรัชกาลที่ ๓ และลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ด้านทิศเหนือของวัดราชนัดดารามวรวิหารเป็นลานโล่ง เปิดมุมมองให้สามารถถ่ายรูปได้สวยงามทั้งช่วงเช้า และค่ำ | 2 พฤษภาคม | 24mm
พระราชลัญจกรในหลวงรัชกาลที่ ๓ จากมุมเดียวกัน ลองใช้เลนส์เทเลเพื่อถ่ายรายละเอียดที่ชั้นบนสุด | 22 มกราคม | 500mm
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ช่างออกแบบก่อสร้างโลหะปราสาท แทนกาารสร้างเจดีย์ โดยการสร้างตามลักษณะโลหะปราสาทแห่งที่สองคือที่ประเทศศรีลังกา โดยเอาของเดิมมาเป็นแบบ แล้วปรับให้เป็นสถาปัตยกรรม ตามแบบไทย ซึ่งสะท้อนถึงพระราชศรัทธาอันแรงกล้าที่พระองค์มีต่อพุทธศาสนา
นับว่าเป็นพระเจดีย์ โลหะปราสาทแห่งแรก แห่งเดียว ในประเทศไทย โดยสร้างเป็นอาคาร ๗ ชั้น มียอดปราสาท ๓๗ ยอด หมายถึง พระโพธิปักขิยธรรม (ธรรมเป็นไปในทางปัญญาเครื่องตรัสรู้) ๓๗ ประการ ยอดปราสาทชั้น ๗ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กลางปราสาทเป็นช่องกลวง มีบันไดเวียน ๖๗ ขั้น ให้เดินขึ้นไปดูทิวทัศน์ข้างบนได้
พระเจดีย์โลหะปราสาท เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อครั้งงานฉลองศิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๘-๓๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชการที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐาน ณ พระเจดีย์บุษบก โลหะปราสาท เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘

ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ และถนนราชดำเนินถ่ายจากชั้น ๗ ของโลหะปราสาท

ภายในโลหะปราสาท

พระบรมสารีริกธาตุ ชั้น ๗ ของโลหะปราสาท
ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ และถนนราชดำเนินถ่ายจากชั้น ๗ ของโลหะปราสาท | 22 มกราคม | 20mm
ภายในโลหะปราสาท | 22 มกราคม | 70mm
พระบรมสารีริกธาตุ ชั้น ๗ ของโลหะปราสาท | 18 ธันวาคม | 45mm
พระอุโบสถ วัดราชนัดดารามวรวิหาร ล้อมรอบด้วยแท่นซุ้มสีมา ๘ ซุ้ม หน้าบันประดับด้วยกระจกสีน้ำเงินเข้ม มีช่อฟ้า ลำยอง นาคสะดุ้ง ใบระกา และหางหงส์ ตามแบบสถาปัตยกรรมไทย บานประตูหน้าต่างด้านในและส่วนลึกของช่องประตูเป็นภาพเขียนสีลายทวารบาล ส่วนลึกของบานหน้าต่างเป็นภาพรามเกียรติ์และอดีตชาติของพระพุทธเจ้า บานหน้าต่างด้านในเป็นรูปเทพต่าง ๆ
ภายในประดิษฐาน “พระพุทธเสฏฐุตตมมุนิทร์” พระพุทธรูปปางมารวิชัย เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ให้ขุดแร่ที่อำเภอจันทึก จังหวัดนครราชสีมา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ หล่อพระพุทธปฏิมากร และนำมาประดิษฐานยังวัดราชนัดดารามวรวิหาร
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถทางด้านหลังพระประธาน เป็นภาพพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ เพื่อทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา ซึ่งต่างจากวัดอื่น ๆ ที่มักนิยมเขียนภาพพุทธประวัติตอนปราบมาร ส่วนผนังด้านข้างของพระอุโบสถ เป็นภาพสวรรค์ โดยมีองค์ประกอบเป็นภาพท้องฟ้า (กลุ่มดาวฤกษ์ต่าง ๆ) พระอาทิตย์ และพระจันทร์ พร้อมด้วยเทวดากำลังเหาะมาเป็นหมู่ ๆ

พระอุโบสถ วัดราชนัดดารามวรวิหาร ด้านทิศตะวันออก

พระพุทธเสฏฐุตตมมุนิทร์ และภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ในพระอุโบสถ วัดราชนัดดารามวรวิหาร
พระอุโบสถ วัดราชนัดดารามวรวิหาร ด้านทิศตะวันออก | 2 มกราคม | 15mm
พระพุทธเสฏฐุตตมมุนิทร์ และภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ในพระอุโบสถ วัดราชนัดดารามวรวิหาร | 22 มกราคม | 40mm
พระวิหาร วัดราชนัดดารามวรวิหาร เป็นอาคารทรงโรง สูงใหญ่ขนาดไล่เลี่ยกับพระอุโบสถ หน้าบันด้านหน้าและด้านหลังมีลวดลายเหมือนกันคือ ลายดอกพุดตาน ประดับด้วยกระจกสีปิดทอง เช่นเดียวกับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้นดอกพุดตานปิดทองที่ดอกลาย บานประตูหน้าต่างมีภาพเขียนสี ฐาน ๒ ชั้น
ภายในมีภาพเขียนที่เพดานและผนัง เพดานมีลายดาวและผีเสื้อ ฝาผนังมีลายเขียนสีดอกไม้ร่วง ฝาผนังด้านหลังพระพุทธรูปเป็นภาพนูนต่ำลายช้างสามเศียรแบกวิมาน ภายในวิมานมีพระพุทธรูป ๓ องค์ ปางประทานพร ๑ องค์ และปางสมาธิ ๒ องค์ ปิดทองที่ลวดลาย ลายวิมานนี้เป็นพระราชลัญจกรของในหลวงรัชกาลที่ ๓ ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น ลวดลายเขียนสีของฝาผนังด้านนี้เป็นลายเครือเถาดอกพุดตาน บริเวณคอสองเป็นลายพวงมาลัย เสาเหลี่ยมลบมุมไม่มีลวดลายที่ลายเสา มีระเบียงรอบพระวิหาร กำแพงรอบพระวิหารประดับด้วยกระเบื้องปรุ เช่น ลายประจำยาม ลายภายในวงกลม เป็นต้น ฐานพระวิหารเป็นฐานสิงห์

พระวิหารด้านทิศตะวันออก วัดราชนัดดารามวรวิหาร

ภายในพระวิหาร วัดราชนัดดารามวรวิหาร

ภาพนูนต่ำลายช้างสามเศียรแบกวิมาน พระราชลัญจกรของในหลวงรัชกาลที่ ๓
พระวิหารด้านทิศตะวันออก วัดราชนัดดารามวรวิหาร | 2 มกราคม | 15mm
ภาพนูนต่ำลายช้างสามเศียรแบกวิมาน พระราชลัญจกรของในหลวงรัชกาลที่ ๓ | 30 ธันวาคม | 85mm
ภายในพระวิหาร วัดราชนัดดารามวรวิหาร | 30 ธันวาคม | 24mm

โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร ภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ถ่ายจากนิทรรศน์รัตนโกสินทร์
โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร ภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ถ่ายจากนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ | 21 เมษายน | 17mm
Information from: https://worldheritagesite.onep.go.th/sitedetail/5